News Today

ห้ามเด็ดขาด! อ.เจษฎ์ เตือนเคสไซยาไนด์ ปฐมพยาบาล “อย่าผายปอด” เสี่ยงตายฉับพลัน

หลังจากคดี “แอม ไซยาไนด์” เกิดเหตุสะเทือนขวัญจาก “ไซยาไนด์” ขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อพบชาวต่างชาติ 6 ศพ เสียชีวิตภายในโรงแรมหรูย่านราชประสงค์

ในเรื่องนี้ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ให้ความรู้เพิ่มเติมสำหรับประเด็นการปฐมพยาบาล ระบุย้ำชัดถึงเรื่องต้องระวังมากๆ อีกหนึ่งเรื่อง คือถ้าพบผู้ที่ได้รับไซยาไนด์เข้าไป หมดสติ หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ และจำเป็นต้องทำการปฐมพยาบาล ด้วยวิธี CPR นั้น “ห้ามทำการผายปอด เป่าปาก เป่าจมูก โดยเด็ดขาด” เพราะเราอาจจะได้อันตรายจากการรับสารไซยาไนด์เข้าไปได้

โดยหยิบยกข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎ์ มาอธิบายประกอบว่า “ไซยาไนด์” คือสารเคมีอันตราย ที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้ (ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์) จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ไซยาไนด์ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ทั้งการสัมผัส การสูดดม รับประทาน เป็นต้น อาการแสดงหลังได้รับไซยาไนด์ ตัวอย่างเช่น ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสอย่างผิวหนังหรือดวงตา ร่างกายอ่อนแรง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น

โดยความรุนแรงของอาการนั้น อาจขึ้นอยู่กับชนิดของไซยาไนด์ ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับ ไซยาไนด์เป็นสารพิษที่ยับยั้งการหายใจระดับเซลล์ ทำให้เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนในการสร้างพลังงาน จึงส่งผลกับอวัยวะที่ใช้ออกซิเจนและพลังงานสูง เช่น สมอง และหัวใจ เป็นลำดับแรก หากได้รับสารพิษในขนาดที่มากเพียงพอ สามารถทำให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้ ไม่ว่าจะเกิดจากการรับสารด้วยวิธีใดก็ตาม

ไขคดี 6 ศพ ตำรวจรู้แล้วคนที่ 7 คือใคร ล่าสุดพบสารพิษในกระบอกน้ำ ทำให้คดีกระจ่าง
ผบ.ตร.ยัน “แอม” วางยา 14 ศพ ยังไม่ฟันผัวตำรวจร่วมฆ่า เรียก “เมียน้อย” สอบอีกปาก
หากสัมผัสกับไซยาไนด์ควรรับมืออย่างไร ?

ไซยาไนด์เป็นสารเคมีอันตราย หากสัมผัสกับสารชนิดนี้ควรรีบลดปริมาณสารดังกล่าวให้ได้มากที่สุด ซึ่งวิธีการรับมือกับ ไซยาไนด์ อาจทำได้ ดังนี้

การสัมผัสทางผิวหนัง : หากร่างกายสัมผัสกับไซยาไนด์ ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และนำออกจากลำตัว โดยวิธีนี้จะช่วยทำให้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ไซยาไนด์ ไม่ไปสัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่น เช่น ศีรษะ และไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายหรือเสื้อผ้าโดยตรงเพราะอาจได้รับพิษจาก ไซยาไนด์ ไปด้วย จากนั้นจึงทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด ก่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล

การสูดดมและรับประทาน : หากสูดดมอากาศที่มีไซยาไนด์ปนเปื้อน ควรออกจากพื้นที่บริเวณนั้น หากไม่สามารถออกจากสถานที่ได้ควรก้มต่ำลงบนพื้น ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ ช่วยชีวิต (CPR) เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอด เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารพิษ

Advertisement
การสัมผัสทางดวงตา : ควรถอดแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ออก จากนั้นให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 นาที และเดินทางไปยังโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการตรวจรักษา ถุงซิปล็อค ถุงซิป

สิ่งของบางอย่างที่ปนเปื้อนไซยาไนด์ อาจนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ต้องทำความสะอาดเพื่อกำจัดสารพิษอย่างถูกวิธีก่อนนำกลับมาใช้ สำหรับคอนแทคเลนส์ หรือเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนควรเก็บใส่ถุงพลาสติกที่มิดชิดและทิ้งให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ห้ามผายปอด เพราะผู้ช่วยเหลือมีโอกาสได้รับสารพิษ จากการเป่าปอด เนื่องจากไซยาไนด์เป็นสารพิษที่รุนแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ในหลักนาที หากได้รับในปริมาณมาก อาจเสียชีวิตฉับพลันได้ ดังนั้น จึงไม่มีวิธีการปฐมพยาบาลแบบจำเพาะเจาะจง กับการถูกสารพิษชนิดนี้ และควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *